บรรจุภัณฑ์บ่งชี้ร่องรอยการแกะ (Tamper-Evident Packaging): ตอนที่ 9
รองศาสตราจารย์ ดร. สมบูรณ์ เจตลีลา ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
|
17,202 ครั้ง เมื่อ 1 ช.ม.ที่แล้ว | |
2012-07-29 |
หลอดบีบปิดผนึก
1. หลอดบีบโลหะปิดผนึก
ส่วนล่างของหลอดบีบโลหะจะถูกปิดผนึกโดยการพับปลาย (end folding) แบบใดแบบหนึ่ง ยกตัวอย่างดังรูปที่ 1(ก) และ (ข) และ/หรือการกดจีบ (crimping) เมื่อเข้าถึงผลิตภัณฑ์จะต้องทิ้งร่องรอยการแตกหักหรือการแกะ โดยไม่สามารถทำให้กลับตรงหรือพับกลับได้ ตรงปากหลอดจะต้องปิดผนึกหรือปิดแผ่นเยื่อเมมเบรน ซึ่งจะต้องฉีกขาดหรือเป็นรอยเจาะเพื่อเข้าถึงผลิตภัณฑ์1, 2 มีการใช้แผ่นกลมอลูมิเนียมความหนา 0.003 – 0.005 นิ้ว ปิดผนึกตรงหลอดเพื่อทำหน้าที่ต้านการแกะ3 เมื่อเวลาเข้าถึงผลิตภัณฑ์ให้ใช้ปลายเข็ม (puncture) ตรงส่วนบนของฝาดังรูปที่ 1(ค) เจาะผนึกอลูมิเนียมให้ขาดซึ่งเป็นการบ่งชี้ร่องรอยการเปิดผนึก อย่างไรก็ตามหลอดบีบที่ขึ้นรูปโดยวิธีตอกรีดในแม่พิมพ์ จากเหรียญอลูมิเนียมผสมดีบุกที่ไม่มีรูตรงกลาง (solid billet) นั้น ไม่จำเป็นต้องปิดผนึกตรงปากหลอด เพราะขึ้นรูปได้แผ่นกลมปิดปากหลอดบีบนั่นเองดังแสดงในรูปที่ 1 (ก)
2. หลอดบีบพลาสติกหรือลามิเนตปิดผนึก
ส่วนล่างของหลอดบีบพสาสติกหรือลามิเนตจะถูกปิดผนึก โดยการปิดผนึกด้วยความร้อน (heat sealing) ซึ่งอาจใช้ความร้อนแบบเหนี่ยวนำ (induction sealing)4, 5 และการกดจีบ (crimping) เมื่อเข้าถึงผลิตภัณฑ์ จะต้องทิ้งร่องรอยการแตกหักหรือการแกะ ตรงปากหลอดจะต้องปิดผนึกหรือปิดแผ่นเยื่อเมมเบรน ซึ่งจะต้องฉีกขาดหรือเป็นรอยเจาะเพื่อเข้าถึงผลิตภัณฑ์1, 2 ดังรูปที่ 2 (ข) มีการใช้แผ่นกลมอลูมิเนียมบางๆ ปิดผนึกตรงปากหลอดเพื่อทำหน้าที่ต้านการแกะเช่นเดียวกับหลอดบีบโลหะ6
3. กระป๋อง
กระป๋องที่ใช้มีทั้งชนิดที่ผนังทำด้วยโลหะทั้งหมด และชนิดที่ผนังทำด้วยโลหะประกอบกับวัสดุอื่น มีการประกบกันระหว่างส่วนบนและส่วนล่าง ซึ่งการต่อเชื่อมจะต้องไม่สามารถแยกออกจากกันและกลับประกอบใหม่ หากต้องการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ภายในกระป๋อง โดยการแยกส่วนบนและล่างออกจากกันและกลับประกอบใหม่ จะต้องทิ้งร่องรอยการแกะที่เห็นได้ การแสดงฉลากจะต้องพิมพ์โดยตรงบนกระป๋อง ไม่ควรใช้ฉลากแบบแยกส่วนที่ใช้การแปะติด1, 2
![]() |
ชาร้อน ชาเย็น ประโยชน์/โทษ ต่อสุขภาพ 1 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
ภาชนะเก็บยา..ที่เหมาะสมต่อการใช้ในชีวิตประจำวัน 1 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
ท้องผูกและการใช้ยาระบาย 13 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
กลูต้าไธโอน (glutathione) ทำให้ขาวจริงหรือ?? 15 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
ไอโอดีน, เบตาดีน ป้องกันสารกัมมันตรังสีได้จริงหรือ 23 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
โรคไทรอยด์เป็นพิษแบบไม่แสดงอาการ 24 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
10 อันดับอาหารที่มีโปแทสเซียมสูง กับประโยชน์ที่มีต่อสุขภาพ 28 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
ใบทุเรียนเทศรักษามะเร็งได้ (จริงหรือ?) … ที่นี่มีคำตอบ 33 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
ยาแก้ข้ออักเสบ (กลุ่มเอ็นเสด)..ระวังอันตรายต่อไต 36 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
ยาหอม..มรดกทางภูมิปัญญา ที่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ 36 วินาทีที่แล้ว |
![]() ![]() |
|
ที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงานภายในคณะฯ
HTML5 Bootstrap Font Awesome